https://experience-alarm.blogspot.com/google.com,%20pub-3791389710662192,%20DIRECT,%20f08c47fec0942fa0 อย่าไปกลัวที่จะเปลี่ยนแปลง...

โพสต์แนะนำ

อย่าไปกลัวที่จะเปลี่ยนแปลง...




เมื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นกลยุทธ์ และการเปลี่ยนแปลงที่ได้ผล ต้องตามอารมณ์ให้ทัน
ไม่มีองค์กรใดในยุคดิจิตอลปักหลักอยู่กับที่และยินดีกับความสำเร็จในอดีต โดยไม่นำเอาเรื่องการเปลี่ยนแปลงเข้ามาเป็นกลยุทธ์สำคัญทางธุรกิจ ผู้บริหารที่จะอยู่ในโลกแห่งอนาคตต่างรู้ดีว่าตนเองต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงในองค์กร ต้องเกี่ยวข้องกับคนเสมอ ดังนั้นผู้บริหารจะห่วงแต่วิธีการที่จะเปลี่ยนจนละเลยความรู้สึกของคนที่จะถูกเปลี่ยนไม่ได้
จักรพันธ์ จันทรัศมี Consulting Partner สลิงชอท กรุ๊ป บอกว่าจริง ๆ แล้ว คนไม่ได้กลัวการเปลี่ยนแปลง แต่กลัวการถูกเปลี่ยนแปลง ต่างหาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่ไม่รู้ว่าอนาคตข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น มันมีทั้ง Risk และ Loss ที่ต้องเผชิญ จะมีความเสี่ยงอะไรบ้าง ต้องเรียนรู้ ต้องอบรม ต้องฝึกฝนอะไรเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า และถ้าเปลี่ยนแล้วแย่ลงใครจะรับผิดชอบ นี่ยังไม่นับความสูญเสียบางสิ่งบางอย่างที่เขาเคยมีและเคยเป็น เช่น อำนาจหน้าที่ ความมั่นคงในงาน เวลาส่วนตัว และสถานภาพทางสังคม
จึงเป็นหน้าที่ของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องเข้าใจสภาวะอารมณ์ของคนที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย เพื่อจะได้รับมือในแต่ละช่วงเวลาของอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง โดยหากดูตามแบบจำลองที่ปรับปรุงมาจาก Curve of Grief Change Model ของ เอลิซาเบธ คืเบลอร์-รอสส์ จะพบว่า
เมื่อคนต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง อารมณ์จะเคลื่อนที่ไปเป็นลำดับขั้นดังนี้
1.ทันทีที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง คนส่วนใหญ่มักตกใจและจะแสดงอาการหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธเอาไว้ก่อน ในขั้นนี้ผู้นำควรจะให้ข้อมูลที่เพียงพอ และบอกให้รู้ว่าจะเปลี่ยนเรื่องอะไร เขาจะได้รับผลกระทบอย่างไร
2.จะมีปฏิกิริยาต่อต้าน ขัดขืน โกรธ ไม่เห็นด้วย ซึ่งสิ่งที่ผู้นำควรทำคือ รับฟังว่าเขาพูดอะไร และรู้สึกอย่างไร แสดงความเข้าใจและเห็นใจ ไม่ใช่มัวแต่ชี้แจงเหตุผล ควรชี้ให้เห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงนั้น
3. เมื่อเวลาผ่านไปจะเริ่มเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น ไหน ๆ ก็ต้องเปลี่ยนแล้ว งั้นลองค้นหาวิธีการและลองปฏิบัติดู ขั้นตอนนี้ผู้นำต้องให้เขามีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดเป้าหมาย เพิ่มเติมความรู้ทักษะให้มากขึ้น รวมถึงฉลองความสำเร็จระหว่างทาง เพื่อทำให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องยาก ค่อย ๆ ทำ ก็จะสำเร็จไปเรื่อย ๆ
4. ยอมรับ เห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงและปฏิบัติตาม ถึงตรงนี้ผู้นำควรชื่นชม ยกย่องผู้ที่ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงได้ดี ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่ได้ผล มิได้อยู่ที่การมีแผนงานที่ดีเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจความรู้สึกของคนที่จะถูกเปลี่ยนแปลง และสามารถติดตามอารมณ์แต่ละช่วงให้ทัน เพื่อโน้มน้าว จูงใจ และสื่อสารได้อย่างถูกต้อง
ข้อมูลจาก 40plusรับวัยยว้าวุ่น

ไม่มีความคิดเห็น: