1.ให้เวลากับตัวเอง
ความผิดพลาดไม่ใช่ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ที่จะลบออกไปได้ภายในกี่วินาที จริงอยู่มันต้องใช้เวลา อย่ารีบร้อน และปล่อยให้มันถูกแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไป จริงอยู่ถ้าเป็นเรื่องงาน คนอื่นอาจจะรอไม่ได้ ถ้าคุณไม่แก้ไขให้มันถูกต้อง แต่อย่าลืมว่าการรีบๆ ทำอะไรลงไปด้วยความรวดเร็ว มันก็เสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดได้ใหม่อีกครั้ง ในมุมกลับกันถ้าคุณค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนแปลง ค่อยๆ เริ่มเดินใหม่ทีละก้าว พอเวลาผ่านไปสักพัก เราก็จะเห็นว่าเราก้าวมาไกลและออกจากจุดเดิมที่เราเคยรู้สึกแย่มาแล้ว
2.ยอมรับและให้อภัยตัวเอง
สิ่งแรกที่เกิดความผิดพลาดขึ้น ถ้าคุณไม่ยอมรับมันทุกอย่างก็จบ เพราะคุณจะไม่พร้อมที่จะแก้ไข หรือไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าควรแก้ไขตรงไหนเมื่อมองไม่เห็นข้อผิดพลาดเหล่านั้น การยอมรับและมองให้เห็นความจริงตรงหน้าเป็นเรื่องที่อาจจะไม่ง่ายแต่เป็นสิ่งที่เราต้องทำถ้าเราอยากจะก้าวข้ามมันไปให้ได้จริงๆการยอมรับความจริงเป็นสิ่งสำคัญที่แม้ว่ามันจะเจ็บปวดแต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธมันได้ หลังจากยอมรับแล้วก็อย่าลืมให้อภัยตัวเองไม่เช่นนั้นคุณก็จะจมอยู่กับความผิดนั้นจนไม่สามารถก้าวข้ามออกมาได้ การทำผิดพลาดสามารถช่วยให้เรากลับมาตั้งหลัก ตั้งสมาธิในสิ่งที่เรากำลังทำได้มากขึ้นและพยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เพื่อลดความผิดพลาดให้น้อยลง
3.ใช้ความผิดพลาดเป็นครู
ไม่ใช่พยายามลืมหรือก้าวข้ามมันไปเฉยๆ ทุกความผิดพลาดคือบทเรียนที่จะสอนเราให้มีสติและรอบคอบในอนาคต เราควรใช้โอกาสนี้ในการวิเคราะห์ความผิดพลาดมันเกิดจากอะไร ทำไมเราถึงเป็นแบบนั้น แน่นอนว่ามันอาจจะยิ่งเป็นการตอกย้ำให้รู้สึกแย่มากขึ้น เมื่อไรก็ตามที่รู้สึกว่าเมื่อมานั่งทบทวนยิ่งดึงตัวเองให้จมลึกลงไปอีก ให้รีบถอยออกมาจากความคิดให้เร็ว เพราะกระบวนการนี้มันเป็นเรื่องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องรีบจนบางทีเรากลับไปจมดิ่งกับความรู้สึกแย่ๆ อีก นอกจากนี้นอกจากนั่งพินิจวิเคราะห์ ยังสามารถลองจดลงและบันทึกออกมาว่าเหตุเกิดเมื่อไหร่ ที่ใด อย่างไร รวมถึงวิธีการแก้ไข สร้างคู่มือเรียนรู้จากความผิดพลาดในแบบฉบับของเรา พร้อมออกแบบทางเลือกของปัญหาไว้หลายๆ ทาง เพื่อที่ว่าเมื่อเจอปัญหาใหม่ที่ยากกว่าจะได้มีเสต็ปในการป้องกันตัวเอง
ขอบพระคุณแหล่งที่มา : Fc นิรุตติ์ ศิริจรรยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น